
นางสาววรลักษณ์ นุ่นรักษา
ผู้อำนวยการ โรงเรียนวัดสวนขัน
ประวัติ โรงเรียนวัดสวนขัน
โรงเรียนวัดสวนขัน ก่อตั้งเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2453 โดยพระอธิการคล้ายจันทสุวัณโณ (พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์) เจ้าอาวาสวัดสวนขัน หลวงสกลกิจจานุรักษ์ นายอำเภอฉวาง หมื่นทิพย์ธานี กำนันอำเภอละอาย และนายศร จันจง (ครูใหญ่คนแรก) ที่ตั้งโรงเรียน ตั้งอยู่เขตธรณีสงฆ์ วัดสวนขันมีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน และเป็นที่ราบ โรงเรียนวัดสวนขัน ตั้งอยู่เลขที่ 199 หมู่ที่ 1 ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดสวนขัน ตั้งอยู่เลขที่ 199 หมู่ที่ 1 ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80250
โทรศัพท์ 075-371409
หมายเลขโทรสาร 075-371409
E-mail watsuankanschool@gmail.com
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.2 เปิดสอนตั้งแต่ ระดับปฐมวัย ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1.3 มีเขตพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านสวนขัน (ที่ตั้งโรงเรียน)
หมู่ที่ 3 บ้านยางในลุ่ม ตำบลสวนขัน
หมู่ที่ 6 บ้านคลองปีกเหนือ ตำบลสวนขัน
หมู่ที่ 9 บ้านจอมทอง ตำบลสวนขัน
2. ข้อมูลด้านการบริหาร
2.1 ชื่อผู้บริหาร นายสำเริง อ้นทอง วุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ ตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน
2.2 ประวัติ คำขวัญ และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
2.2.1 ประวัติโรงเรียนวัดสวนขัน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2453 โดยหลวงสกลกิจจานุวัตร นายอำเภอฉวาง ร่วมด้วย “หมื่นทิพย์ธานี” กำนันตำบลละอาย เป็นผู้ก่อตั้ง เป็นอาคารเรียนแบบเรือนไม้พื้นสูง ชั้นเดียว
พ.ศ. 2480 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา 600 บาท ราษฎรสมทบ 1, 500 บาท สร้างแบบ ฉ.1 ในปีเดียวกันพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ได้มอบที่ดินให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนจำนวน 4 ไร่
พ.ศ. 2519 สร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง กว้าง 18 เมตร ยาว 18 เมตร เป็นเงิน 25,000 บาทงบ กสช.พ.ศ. 2524 สร้างสนามบาสเกตบอลจากงบ กสช. เป็นเงิน 27,050 บาท แม่บ้านสมทบ 1,500 บาท และได้ส้วม 3 ที่นั่ง ราคา 30,000 บาทพ.ศ. 2525 ได้อาคารเรียนแบบ 107 1หลัง 4 ห้องเรียน ราคาประมูล 890,000 บาทพ.ศ. 2526 ได้อาคารเอนกประสงค์แบบ สปช. 203 ขนาด 10 x 210 เมตร 1 หลัง ส้วม สปช. 601 จำนวน 1 หลังพ.ศ. 2527 ได้งบประมาณต่อเติมอาคาร 107 ก.ชั้นล่าง เป็นเงิน 240,000 บาทพ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน สปช. 107/14 ขนาดห้องเรียน 1 หลัง
พ.ศ. 2549 นายธนัญชัย บุญรัตน์ และคณะครูได้บริจาคเงินในการสร้างที่ประดิษฐานสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นเงิน 50,000 บาท
พ.ศ. 2550 พระครูกิตติวิมล เจ้าอาวาสวัดสวนขัน สร้างโรงอาหารให้โรงเรียนวัดสวนขัน 1 หลัง ขนาด 12 x 25 เมตร งบประมาณ 500,000 บาท
พ.ศ. 2551 ได้รับงบประมาณในการสร้างสนามบาสเกตบอล ทางเท้าคสล. คูระบายน้ำ และซ่อมแซมอาคารเอนกประสงค์ เป็นเงินงบประมาณ 2,660,000 บาท
พ.ศ. 2560 ได้รับงบประมาณในการสร้างที่จอดรถ หลังคาทางเดิน ห้องน้ำ ติดตั้งป้ายไวนิล ซ่อมไฟฟ้า ซ่อมตู้ลำโพง เครื่องรับสัญญาณ ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ทาสีโรงอาหาร เป็นเงินงบประมาณ 550,000 บาท
พ.ศ. 2561 ได้รับงบประมาณในการซ่อมหลังคา ปรับปรุงโรงอาหาร เป็นเงินงบประมาณ 250,000 บาท
2.2.2 อักษรย่อโรงเรียน วสข.
2.2.3 สีประจำโรงเรียน แดง-ขาว
2.2.4 ปรัชญาของโรงเรียน รักความสะอาด มารยาทดี มีจิตอาสา
2.2.5 คำขวัญของโรงเรียน โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล พัฒนาคน เน้นความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาฯ บูชาพ่อท่านคล้าย
วัตถุประสงค์เฉพาะของโรงเรียน
1) ประชากรในวัยเรียนทุกคนได้รับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
2) ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน มีศักยภาพในการแข่งขัน
3) ครูมีความรู้ ความสามารถและทักษะตามสมรรถภาพ และการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
4) โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
5) นักเรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา
วิสัยทัศน์
ในปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดสวนขัน บริหารจัดการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพกายและจิตดี มีคุณธรรมนำความรู้ จัดสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ ครูพัฒนา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญา
“รักความสะอาด มารยาทดี มีจิตอาสา”
พันธกิจ
เพื่อให้แนวทางในการจัดการศึกษาสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามจุดมุ่งหมาย จึงกำหนดพันธกิจร่วมกัน ดังนี้
1. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีทางการศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
2. ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะทางวิชาการและดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีความสุข
3. เสริมสร้างแลพัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง สุขภาพจิตดี
4. พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
5. ปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมโรงเรียนให้มีความร่มรื่น จัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีความสะอาดและเอื้อต่อการเรียนรู้
6. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถสู่มาตรฐานวิชาชีพ เสริมสร้างขวัญกำลังใจ สวัสดิการ และความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ
7. ประสานความสัมพันธ์กับชุมชนให้มีความรักและความผูกพัน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนรวมในการจัดการศึกษา
8. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการบริหารจัดการ ยึดหลักการมีส่วนร่วมพัฒนากรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่